โครงการบูรณาการการพัฒนาการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนผ่านการสร้างเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไปของโครงการ
- ข่าวสาร: อัพเดทกิจกรรมที่น่าสนใจของโครงการ (สามารถเข้าถึงได้ทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ)
- กิจกรรม: กิจกรรมเนื่องในโอกาสต่างๆ
- การบรรยาย: การเข้าร่วมบรรยาย/สัมมนาต่างๆ
- การฝึกอบรม: กิจกรรมการฝึกอบรม
- สื่อ: การนำเสนอกิจกรรมผ่านสื่อต่างๆ
- วิชาการ: การนำเสนอผลงานทางวิชาการในโอกาสต่างๆ
- เกี่ยวกับเรา: ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ SMART & STRONG
- เครือข่าย: รายชื่อและข้อมูลขององค์กรภาคีเครือข่ายความร่วมมือ
- Facebook, Instagram, และ X/Twitter: สื่อสังคมออนไลน์ของโครงการ SMART & STRONG
จดหมายข่าว
‣กรกฎาคม 2566
ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
ปัจจุบันทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว
ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว “การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน” มีความสำคัญและกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมสูงวัยที่มีสุขภาพดี ในชุมชน ซึ่งผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระและมีความเป็นอยู่ที่ดีได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง ภาวะพึ่งพิง และความพิการที่ต้องการการดูแลระยะยาว นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระการพึ่งพา ความช่วยเหลือ และการขาดแคลนทรัพยากรในการสนับสนุนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านค่าใช้จ่ายสาธารณะ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแล รวมถึงญาติผู้ดูแลอีกด้วย
โครงการ SMART & STRONG ได้นิยาม “การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน” ว่าเป็นการรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ซึ่งครอบคลุมการบริการด้านสุขภาพ เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การและการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อสางเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยนำการดูแลระยะยาวมาบูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ สวัสดิการ และการรักษาพยาบาลในประเทศไทย จะดำเนินการผ่านระบบการบริหารที่แยกส่วนกันในแนวดิ่ง ขณะที่โครงการนี้มุ่งที่จะบูรณาการส่วนงานต่างๆหล่านี้เข้าด้วยกัน จึงเป็นแนวคิดริเริ่มที่ครอบคลุมในระดับชุมชน (ในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เพื่อสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนที่ยั่งยืน
โครงการ SMART & STRONG มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการโดยชุมชนในประเทศไทย ภายใต้กรอบโครงการความร่วมมือของ JICA (องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น) และโครงการนี้ดำเนินการโดยเทศบาลเมืองยูกาวาระ จังหวัดคานากาวา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำในสังคมผู้สูงอายุที่เติบโตอย่างรวดเร็วอีกหนึ่งประเทศในโลก ในฐานะประเทศที่มีรายได้ปานกลาง การเปลี่ยนแปลงทางประชากรนี้ สะท้อนถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายใหม่ๆ ในการปฏิรูปนโยบายและแนวคิดเพื่อรับมือกับความท้าทายที่เผชิญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ จากบริบทนี้รัฐบาลไทยจึงมีการกำหนดนโยบายในแผนระดับชาติเพื่อรับมือกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยใช้ศักยภาพของการดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชน รวมถึงการดูแลโดยครอบครัว/เพื่อน เพื่อนบ้าน และสมาชิกในชุมชน เช่น อาสาสมัครผู้ดูแลที่ได้รับค่าตอบแทน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ว่าจ้างโดยเทศบาล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โครงการนี้ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยสามารถดำเนินในรูปแบบต่างๆ เช่น ศูนย์ดูแลระหว่างวัน กิจกรรมคาเฟ่สำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม และการจัดให้มีสถานที่ในชุมชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
โครงการนี้อยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือจากองค์กร/หน่วยงานต่างๆโดยมุ่งเน้นการสร้าง “แพลตฟอร์ม หรือ ช่องทาง” สำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ แนวคิด และทรัพยากร (ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคลและเทคโนโลยี) ที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการดูแลระยะยาว โดยกให้ชุมชนแนวทางหรือนโยบายเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุในชุมชนสามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระในบ้านของตนเองได้ การกำหนดมาตรการสนับสนุนสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ไม่จำกัดเฉพาะในด้านการดูแลสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะต่างๆ และแนวทางการดำำเนินงานที่สามารถปฏิบัติได้จริงในทุกสหวิชาชีพ เช่น การจ้างงานและรายได้ของผู้สูงอายุ การบริหารจัดการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเงินด้านต้นทุน/การบริหารจัดการงบประมาณ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนกับภาคประชาสังคมและกิจกรรมของภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับ “เมืองอัจฉริยะ” ด้วยนวัตกรรมที่อยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้อยู่อาศัยและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ฯลฯ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
เครือข่ายและความร่วมมือ
- โปรดดูที่หน้า เครือข่าย สำหรับรายชื่อและข้อมูลขององค์กร
โครงการนี้ประกอบด้วยเครือข่ายองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล หน่วยงานภาครัฐ กระทรวง หน่วยงานดความร่วมมือระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยการสร้างเครือข่ายของ โครงการ SMART & STRONG มุ่งที่จะเป็นช่องทางสำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เช่น การสร้างความร่วมมือภายในเครือข่าย การจัดการฝึกอบรม การบรรยาย สัมมนา และการศึกษาดูงาน เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ตรงในด้านการดูแลผู้สูงอายุทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยผ่านการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน โดยโครงการมุ่งที่จะแสดงผลการดำเนินงานของความร่วมมือผ่านสื่อต่างๆ ตลอดจนการนำเสนอทางวิชาการ เพื่อให้โครงการนี้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน โดยการใช้ความสำเร็จของแต่ละพื้นที่ในการเสริมพลังและสนับสนุนเจ้าหน้าที่และประชาชนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน
โดยรายละเอียดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยที่ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชนในแต่ละพื้นที่ที่เข้าร่วมผ่านโครงการ SMART & STRONG ซึ่งในระยะแรกมีเทศบาล จำนวน 9 แห่ง เข้าร่วมโครงการในเดือนสิงหาคม 2565 ต่อมามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 26 แห่ง ในเดือนกรกฎาคม 2566 โดยเทศบาลเหล่านี้มีแนวคิดริเริ่มของตนเองในการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งประชาชนในแต่ละพื้นที่ทั้งผู้สูงอายุ ครอบครัว เพื่อนบ้าน ผู้ดูแล ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์/สุขภาพ และสมาชิกในชุมชนทั้งหมด เป็นผู้รับประโยชน์ของโครงการนี้ร่วมกัน เทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้คาดหวังจะที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกของประชาชนโดยนำความต้องการของประชาชนมาเป็นแนวคิดริเริ่มในการจัดบริการในพื้นที่ของตน
จากความสำเร็จดังกล่าว จึงเกิดการขยายเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ผ่านโครงการ SMART & STRONG โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างฐานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถแลกเปลี่ยนและส่งเสริมนโยบายด้านการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงภายในเครือข่ายทั่วประเทศไทยอย่างยั่งยืนและเป็นอิสระ รวมถึงมีแนวคิดที่จะเผยแพร่เครือข่ายและกลไกการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ผ่านโครงการนี้ให้แก่ประเทศอื่นๆ ที่อยู่รอบประเทศไทย เช่น กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฯลฯ ต่อไป
การเรียนรู้และการพัฒนาร่วมกัน ในประเทศไทย
ปัจจุบันอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยกำลังเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ดีขึ้นและอัตราการเกิดที่ลดลง ส่งผลให้เกิดการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การดูแลผู้สูงอายุแต่เดิมนั้นเน้นการดูแลแบบไม่เป็นทางการ หรือ การดูแลในครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างระบบและกลไกทางสังคมที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบัน จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนถือเป็นหนึ่งวาระสำคัญเพื่อรับมือกับสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในอนาคตอันใกล้นี้ ผ่านการบูรณาการทั้งรูปแบบการดูแลแบบไม่เป็นทางการและเป็นทางการ
ในทางกลับกัน ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด โดยมีประชากรสูงอายุในสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลกและมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งพร้อมด้วยองค์ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมามากกว่า ในการจัดตั้งและบริหารจัดการระบบประกันสังคม ทั้งการประกันการดูแลระยะยาว ระบบบำนาญ และบริการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบบริการหรือสถานพยาบาล อย่างไรก็ตาม ด้วยประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นและประชากรวัยทำงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับความท้าทายอันใหญ่หลวงในระบบการบริการและการรักษาที่มีอยู่ ด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคลและต้นทุนการเงิน อันสะท้อนจากความต้องการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการรับการดูแลที่บ้านและในชุมชนของตนเอง ซึ่งเป็นที่ที่ผู้สูงอายุคุ้นเคยมากกว่าการรับบริการในสถานพยาบาล โดยการดูแลแบบบูรณาการในชุมชนของญี่ปุ่นเพิ่งจะได้รับการส่งเสริมมากขึ้นในช่วงไม่นานมานี้ จากความเหมือนและความต่างในบริบทการดูแลผู้สูงอายุระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น จึงเป็นที่มาของโครงการ SMART & STRONG เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแต่ละบริบทระหว่างกัน และ การพัฒนาร่วมกันเพื่อสร้างแนวทางการแก้ไขที่เป็นนวัตกรรม โดยการนำเสนอองค์ความรู้และมุมมองใหม่ๆ ทั้งในระดับชุมชน เมือง และประเทศ ทั้งในด้านนโยบาย สังคม และวัฒนธรรม
นอกจากนี้ ยังเป็นส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันของเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ปัจจุบันโครงการนี้สามารถสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ในวงกว้าง อันเกิดจากการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน อาทิเช่น การดำเนินกิจกกรม "คาเฟ่สำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม" ในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 3 แห่งในประเทศไทย ซึ่งได้นำแนวคิดและรูปแบบมาจากการจัดกิจกรรมคาเฟ่สำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อมในญี่ปุ่น ผ่านการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่เทศบาลในประเทศไทยและการศึกษาดูงานในหลายสถานที่สำหรับการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของประเทศญี่ปุ่น